รับประกันตัวกล้อง 1 ปี (สำหรับกล้องใหม่)
นิยาม รับประกันตัวกล้อง หมายถึง การรับประกันระบบการทำงานภายในตัวกล้องเพียงอย่างเดียว หรือตัวกล้องมีอาการเสื่อมสภาพจากด้านในตัวกล้องหรืออุปกรณ์ด้านในตัวกล้องหลุด จึงทำให้เกิดการใช้งานที่ไม่สมบูรณ์ ทั้งนี้ไม่รวมกรณีที่เกิดจากสาเหตุอื่น
การรับประกันตัวกล้อง 1 ปี เป็นการรับประกันจากโรงงานผู้ผลิตสินค้า ในกรณีที่รับประกันตัวกล้องหากอยู่ในระยะเวลารับประกันตัวกล้อง 1 ปี นับจากวันที่ได้ซื้อสินค้าจะไม่มีค่าใช้จ่ายในส่วนของค่าอะไหล่ แต่หากระยะเวลาเกิน 1 ปี ลูกค้าจะเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายแม้จะเข้ากรณีรับประกันตัวกล้องก็ตาม การดำเนินการทั้งหมดอยู่ภายใต้การดูแลของบริษัท พี นัมเบอร์วัน อินสตรูเม้นท์ จำกัด โดยศูนย์ซ่อม Calibration Center ที่ได้มาตรฐาน
1. กรณีที่รับประกันตัวกล้องจากการเสื่อมสภาพจากด้านในตัวกล้องหรืออุปกรณ์ด้านในตัวกล้องหลุดมีรายละเอียดดังนี้
- แบตเตอรี่ชาร์ทไฟไม่เข้า
- เครื่องเปิดไม่ติด
- ฐานกล้องล็อกไม่อยู่
- บอร์ดด้านในเสียและเกิดการยิงระยะไม่ออก
- แทนเจ้นท์หลุด
- ฟุ๊ตสกรูหลุด โอกาสเกิดได้จาก TOPCON, SOKKIA
***กรณี กล้องเพี้ยน ไม่ตรง ลูกค้าสามารถส่งกลับมาเพื่อแก้ไขได้ บริษัทฯจะแก้ไขให้อยู่ในสภาพเตรียมพร้อมใช้งานเช่นเดิม
2. กรณีที่ไม่อยู่ในการรับประกันตัวกล้อง หรือมีสิ่งอื่นมาทำให้ตัวกล้องผิดปกติไปจากเดิมอย่างเช่น กิ่งไม้หล่นทับตัวกล้องหรือการนำกล้องไว้หลังรถและเกิดการสั่นสะเทือนเป็นประจำ เป็นต้น
กรณีที่ไม่อยู่ในการรับประกันตัวกล้อง มีดังนี้
- โดนกระแทก
- ตกหรือหล่น
- เปียกน้ำทุกกรณี เช่น ตกน้ำ เปียกฝน เป็นต้น
** ทั้งนี้ในกรณีอื่นนอกเหนือจากข้อความข้างต้นที่กล่าวมานั้นจะเป็นไปตามดุลยพินิจในการพิจารณาของบริษัททั้งสิ้น
รับประกันตัวกล้อง 6 เดือน (สำหรับกล้องมือสอง)
นิยาม รับประกันตัวกล้อง หมายถึง การรับประกันระบบการทำงานภายในตัวกล้องเพียงอย่างเดียว หรือตัวกล้องมีอาการเสื่อมสภาพจากด้านในตัวกล้องหรืออุปกรณ์ด้านในตัวกล้องหลุด จึงทำให้เกิดการใช้งานที่ไม่สมบูรณ์ ทั้งนี้ไม่รวมกรณีที่เกิดจากสาเหตุอื่น
การรับประกันตัวกล้อง 6 เดือน เป็นการรับประกันภายใต้บริษัท พี นัมเบอร์วัน อินสตรูเม้นท์ จำกัด โดยศูนย์ซ่อม Calibration Center ที่ได้มาตรฐาน หากอยู่ในระยะเวลารับประกันตัวกล้อง 6 เดือน จะไม่มีค่าใช้จ่ายในส่วนของค่าอะไหล่ แต่หากระยะเวลาเกิน 6 เดือนไปแล้ว ลูกค้าจะเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายแม้จะเข้ากรณีรับประกันตัวกล้องก็ตาม
1. กรณีที่รับประกันตัวกล้องจากการเสื่อมสภาพจากด้านในตัวกล้องหรืออุปกรณ์ด้านในตัวกล้องหลุดมีรายละเอียดดังนี้
ตัวอย่างเช่น ในส่วนของประเภทกล้องวัดมุมและกล้องประมวลผล
- โฟกัสมองไม่เห็น
- ปุ่มกดไม่ติดบางปุ่ม
- ลูกน้ำเป็นหลุมเนิน
- แบตเตอรี่ใช้งานได้ไม่นาน
ตัวอย่างเช่น ในส่วนของประเภทกล้องระดับ
- ลูกน้ำแตก, เพี้ยน, ระเหย
***กรณี กล้องเพี้ยน ไม่ตรง ลูกค้าสามารถส่งกลับมาเพื่อแก้ไขได้ บริษัทฯจะแก้ไขให้อยู่ในสภาพเตรียมพร้อมใช้งานเช่นเดิม
2. กรณีที่ไม่อยู่ในการรับประกันตัวกล้อง หรือมีสิ่งอื่นมาทำให้ตัวกล้องผิดปกติไปจากเดิมอย่างเช่น กิ่งไม้หล่นทับตัวกล้อง หรือการนำกล้องไว้หลังรถและเกิดการสั่นสะเทือนเป็นประจำ เป็นต้น
กรณีที่ไม่อยู่ในการรับประกันตัวกล้อง มีดังนี้
- โดนกระแทก
- ตกหรือหล่น
- เปียกน้ำทุกกรณี เช่น ตกน้ำ เปียกฝน เป็นต้น
** ทั้งนี้ในกรณีอื่นนอกเหนือจากข้อความข้างต้นที่กล่าวมานั้นจะเป็นไปตามดุลยพินิจในการพิจารณาของบริษัททั้งสิ้น
ลูกค้าสามารถศึกษาการใช้งานกล้องประมวลผลรวมได้ที่ช่องยูทูปของเรา https://www.youtube.com/playlist?list=PLICqQiXlCnDs36ehG6xzodEbUVHZf2d8B
ลูกค้าแอดไลน์ https://page.line.me/wbo4180u?openQrModal=true
แจ้งชื่อ ที่อยู่ และเบอร์โทร สามารถเก็บเงินปลายทาง รอรับสินค้าภาย 1-2 วัน
21 พ.ค. 2568
ถ้าคุณเคยใช้กล้อง Total Station แล้วงงว่าทำไมต้องเล็งไปที่จุดหนึ่งก่อนเริ่มวัด? หรือทำไมกล้องต้องให้ใส่พิกัดสองจุดก่อนใช้งาน?
20 พ.ค. 2568
เป็นฟังก์ชันสำคัญในกล้อง Total Station ที่ใช้ในการ นำค่าพิกัดที่ออกแบบไว้บนแบบก่อสร้าง มากำหนดจุดจริงในภาคสนาม เช่น ตำแหน่งเสา ผนัง ถนน หรือจุดเจาะเสาเข็ม
19 พ.ค. 2568
บทความนี้แนะนำเทคนิคการตรวจสอบกล้อง Total Station มือสองในซีรีส์ยอดนิยม GTS/GPT เพื่อประกอบการพิจารณาเลือกซื้อ พร้อมเปรียบเทียบความแตกต่างของระบบ EDM เพื่อให้ผู้ใช้งานสามารถเลือกรุ่นที่ตอบโจทย์ลักษณะงานได้อย่างถูกต้อง
19 พ.ค. 2568
ในวงการงานสำรวจและก่อสร้าง กล้องวัดมุม (Theodolite) และกล้อง Total Station คืออุปกรณ์ที่ขาดไม่ได้ แต่หลายคนอาจยังสงสัยว่า สองตัวนี้ต่างกันอย่างไร? หรือ งานแบบไหนควรใช้กล้องอะไร?
16 พ.ค. 2568
หากคุณเป็นช่างสำรวจ วิศวกรโยธา หรือทำงานในสายก่อสร้างที่ต้องใช้กล้อง Total Station ฟังก์ชันหนึ่งที่ควรรู้คือ โปรแกรม Resection (หรือ Free Station / 3-Point Resection) พระเอกที่ช่วยคำนวณหาพิกัดกล้อง แม้ตั้งกล้อง ณ จุดที่ไม่รู้พิกัด เพียงใช้จุดควบคุมที่ทราบพิกัดรอบๆ
14 พ.ค. 2568
ทำไมกล้อง Total Station ไม่เหมาะกับการนำมาวัดระดับอย่างเดียว? เรียนรู้ว่าความต่างในวิธีการวัดและความคลาดที่ทำให้กล้องระดับเหมาะสมกว่าสำหรับงานวัดระดับ
13 พ.ค. 2568
ในการทำงานสำรวจสมัยใหม่ เครื่องมือที่ขาดไม่ได้คือ Total Station ซึ่งรวมความสามารถในการวัดมุมและระยะทางไว้ในอุปกรณ์เดียว แต่หัวใจที่ทำให้กล้องทำงานได้เต็มศักยภาพคือ โปรแกรม Data Collect หรือ โปรแกรมเก็บข้อมูลภาคสนาม (Field Data Collection Software)
12 พ.ค. 2568
นวัตกรรมการวัดรอยร้าวบนหน้าผาหินด้วย Total Station แบบไม่ใช้ปริซึม ช่วยให้เก็บข้อมูลได้อย่างปลอดภัย แม่นยำ และรวดเร็ว จากระยะไกล