รับประกันตัวกล้อง 1 ปี (สำหรับกล้องใหม่)
นิยาม รับประกันตัวกล้อง หมายถึง การรับประกันระบบการทำงานภายในตัวกล้องเพียงอย่างเดียว หรือตัวกล้องมีอาการเสื่อมสภาพจากด้านในตัวกล้องหรืออุปกรณ์ด้านในตัวกล้องหลุด จึงทำให้เกิดการใช้งานที่ไม่สมบูรณ์ ทั้งนี้ไม่รวมกรณีที่เกิดจากสาเหตุอื่น
การรับประกันตัวกล้อง 1 ปี เป็นการรับประกันจากโรงงานผู้ผลิตสินค้า ในกรณีที่รับประกันตัวกล้องหากอยู่ในระยะเวลารับประกันตัวกล้อง 1 ปี นับจากวันที่ได้ซื้อสินค้าจะไม่มีค่าใช้จ่ายในส่วนของค่าอะไหล่ แต่หากระยะเวลาเกิน 1 ปี ลูกค้าจะเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายแม้จะเข้ากรณีรับประกันตัวกล้องก็ตาม การดำเนินการทั้งหมดอยู่ภายใต้การดูแลของบริษัท พี นัมเบอร์วัน อินสตรูเม้นท์ จำกัด โดยศูนย์ซ่อม Calibration Center ที่ได้มาตรฐาน
1. กรณีที่รับประกันตัวกล้องจากการเสื่อมสภาพจากด้านในตัวกล้องหรืออุปกรณ์ด้านในตัวกล้องหลุดมีรายละเอียดดังนี้
- แบตเตอรี่ชาร์ทไฟไม่เข้า
- เครื่องเปิดไม่ติด
- ฐานกล้องล็อกไม่อยู่
- บอร์ดด้านในเสียและเกิดการยิงระยะไม่ออก
- แทนเจ้นท์หลุด
- ฟุ๊ตสกรูหลุด โอกาสเกิดได้จาก TOPCON, SOKKIA
***กรณี กล้องเพี้ยน ไม่ตรง ลูกค้าสามารถส่งกลับมาเพื่อแก้ไขได้ บริษัทฯจะแก้ไขให้อยู่ในสภาพเตรียมพร้อมใช้งานเช่นเดิม
2. กรณีที่ไม่อยู่ในการรับประกันตัวกล้อง หรือมีสิ่งอื่นมาทำให้ตัวกล้องผิดปกติไปจากเดิมอย่างเช่น กิ่งไม้หล่นทับตัวกล้องหรือการนำกล้องไว้หลังรถและเกิดการสั่นสะเทือนเป็นประจำ เป็นต้น
กรณีที่ไม่อยู่ในการรับประกันตัวกล้อง มีดังนี้
- โดนกระแทก
- ตกหรือหล่น
- เปียกน้ำทุกกรณี เช่น ตกน้ำ เปียกฝน เป็นต้น
** ทั้งนี้ในกรณีอื่นนอกเหนือจากข้อความข้างต้นที่กล่าวมานั้นจะเป็นไปตามดุลยพินิจในการพิจารณาของบริษัททั้งสิ้น
รับประกันตัวกล้อง 6 เดือน (สำหรับกล้องมือสอง)
นิยาม รับประกันตัวกล้อง หมายถึง การรับประกันระบบการทำงานภายในตัวกล้องเพียงอย่างเดียว หรือตัวกล้องมีอาการเสื่อมสภาพจากด้านในตัวกล้องหรืออุปกรณ์ด้านในตัวกล้องหลุด จึงทำให้เกิดการใช้งานที่ไม่สมบูรณ์ ทั้งนี้ไม่รวมกรณีที่เกิดจากสาเหตุอื่น
การรับประกันตัวกล้อง 6 เดือน เป็นการรับประกันภายใต้บริษัท พี นัมเบอร์วัน อินสตรูเม้นท์ จำกัด โดยศูนย์ซ่อม Calibration Center ที่ได้มาตรฐาน หากอยู่ในระยะเวลารับประกันตัวกล้อง 6 เดือน จะไม่มีค่าใช้จ่ายในส่วนของค่าอะไหล่ แต่หากระยะเวลาเกิน 6 เดือนไปแล้ว ลูกค้าจะเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายแม้จะเข้ากรณีรับประกันตัวกล้องก็ตาม
1. กรณีที่รับประกันตัวกล้องจากการเสื่อมสภาพจากด้านในตัวกล้องหรืออุปกรณ์ด้านในตัวกล้องหลุดมีรายละเอียดดังนี้
ตัวอย่างเช่น ในส่วนของประเภทกล้องวัดมุมและกล้องประมวลผล
- โฟกัสมองไม่เห็น
- ปุ่มกดไม่ติดบางปุ่ม
- ลูกน้ำเป็นหลุมเนิน
- แบตเตอรี่ใช้งานได้ไม่นาน
ตัวอย่างเช่น ในส่วนของประเภทกล้องระดับ
- ลูกน้ำแตก, เพี้ยน, ระเหย
***กรณี กล้องเพี้ยน ไม่ตรง ลูกค้าสามารถส่งกลับมาเพื่อแก้ไขได้ บริษัทฯจะแก้ไขให้อยู่ในสภาพเตรียมพร้อมใช้งานเช่นเดิม
2. กรณีที่ไม่อยู่ในการรับประกันตัวกล้อง หรือมีสิ่งอื่นมาทำให้ตัวกล้องผิดปกติไปจากเดิมอย่างเช่น กิ่งไม้หล่นทับตัวกล้อง หรือการนำกล้องไว้หลังรถและเกิดการสั่นสะเทือนเป็นประจำ เป็นต้น
กรณีที่ไม่อยู่ในการรับประกันตัวกล้อง มีดังนี้
- โดนกระแทก
- ตกหรือหล่น
- เปียกน้ำทุกกรณี เช่น ตกน้ำ เปียกฝน เป็นต้น
** ทั้งนี้ในกรณีอื่นนอกเหนือจากข้อความข้างต้นที่กล่าวมานั้นจะเป็นไปตามดุลยพินิจในการพิจารณาของบริษัททั้งสิ้น
ลูกค้าสามารถศึกษาการใช้งานกล้องประมวลผลรวมได้ที่ช่องยูทูปของเรา https://www.youtube.com/playlist?list=PLICqQiXlCnDs36ehG6xzodEbUVHZf2d8B
ลูกค้าแอดไลน์ https://page.line.me/wbo4180u?openQrModal=true
แจ้งชื่อ ที่อยู่ และเบอร์โทร สามารถเก็บเงินปลายทาง รอรับสินค้าภาย 1-2 วัน
5 ธ.ค. 2567
การวัดและรวบรวมข้อมูลสำหรับเขียนแผนที่โดยกล้องTotal Station การวัดและรวบรวมข้อมูลเพื่อเขียน แผนที่แนวเขต โดยใช้ กล้อง Total Station เป็นกระบวนการสำรวจที่ต้องการความแม่นยำและการปฏิบัติงานตามขั้นตอนที่เป็นระบบ เพื่อให้ได้ข้อมูลสำหรับสร้างแผนที่ที่ถูกต้องและครบถ้วน
3 ธ.ค. 2567
กล้องสำรวจ เช่น กล้องระดับ (Level) และ กล้องประมวลผล (Total Station) เป็นเครื่องมือสำคัญในงานรังวัดและงานก่อสร้างที่ต้องการความแม่นยำสูง อุปกรณ์เหล่านี้มีราคาสูงและมีความซับซ้อนทางเทคนิค การใช้งานหรือดูแลรักษาที่ไม่ถูกต้องอาจทำให้กล้องเสียหายและส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพการทำงานได้ ดังนั้น มาดูกันว่ามีสิ่งใดบ้างที่ควรหลีกเลี่ยงเพื่อป้องกันความเสียหายต่อกล้องเหล่านี้
3 ธ.ค. 2567
การเลือกใช้กล้อง Total Station ให้เหมาะสมกับงานสำรวจกล้อง Total Station เป็นเครื่องมือสำคัญที่ใช้ในการสำรวจเพื่อวัดระยะ, มุม และตำแหน่งของจุดต่าง ๆ โดยการเลือกใช้ Total Station ที่เหมาะสมกับประเภทของงานสำรวจนั้นเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานและลดข้อผิดพลาดในกระบวนการสำรวจ
3 ธ.ค. 2567
แม้ว่าโปรแกรม LAYOUT ในกล้อง Total Station จะเป็นเครื่องมือที่มีประโยชน์อย่างมากในการทำงานสำรวจและก่อสร้าง แต่ก็มีข้อจำกัดบางประการที่ผู้ใช้งานควรทราบ
3 ธ.ค. 2567
กล้อง Total Station เป็นกระบวนการสำคัญในงานสำรวจและงานก่อสร้าง เช่น การกำหนดแนวเส้นตรง การตรวจสอบความเอียง และการตั้งมุมต่าง ๆ ในงานภูมิศาสตร์และโครงสร้าง โดยสามารถทำได้ทั้งการวัด มุมราบ และ มุมดิ่ง
2 ธ.ค. 2567
การใช้กล้อง Total Station ในงานสร้างเขื่อน เป็นหนึ่งในกระบวนการสำคัญที่ช่วยให้การวางตำแหน่งโครงสร้างและตรวจสอบความแม่นยำของโครงการก่อสร้าง
28 พ.ย. 2567
ในกรณีที่ไม่สามารถวางเป้า (Prism) เพื่อทำการวัดระยะทางได้ เช่น ในพื้นที่เข้าถึงยาก มีสิ่งกีดขวาง หรือพื้นที่ไม่ปลอดภัย กล้องสำรวจ (Total Station) ยังสามารถใช้งานได้ด้วยวิธีการสำรวจแบบไม่ใช้เป้า (Non-Prism Mode) หรือเทคนิคอื่น ๆ ที่เหมาะสม ขึ้นอยู่กับสถานการณ์และอุปกรณ์ที่มี
28 พ.ย. 2567
กล้อง Total Station และ เลเซอร์วัดระยะ เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการวัดระยะทาง แต่มีหลักการทำงานและความสามารถที่แตกต่างกัน