สาเหตุความคลาดเคลื่อนในงานระดับ

Last updated: 18 ธ.ค. 2566  |  1326 จำนวนผู้เข้าชม  | 

สาเหตุความคลาดเคลื่อนในงานระดับ

สาเหตุหลักที่ทำให้งานระดับเกิดความคลาดเคลื่อนจะแบ่งออกเป็น 3 สาเหตุด้วยกัน นั้นก็คือ

  1. ความคลาดเคลื่อนที่เกิดจากเครื่องมือและอุปกรณ์ที่เราใช้ในงานระดับ อาจจะอยู่ในสภาพที่ไม่พร้อมใช้งาน จึงเป็นหนึ่งสาเหตุที่ทำให้เกิดความคลาดเคลื่อนได้ ดังนั้นต้องหมั่นตรวจเช็คหรือปรับแก้ เครื่องมือและอุปกรณ์เหล่านี้อยู่ในสภาพที่พร้อมใช้งานเสมอ
  2. ความคลาดเคลื่อนที่เกิดจากตัวบุคคล โดยทั่วไปข้อจำกัดในการมองของผู้วัดปกติในระยะ 100 เมตร ไม่ควรอ่านผิดเกินกว่า 2 มิลลิเมตร แต่ถ้าผู้ปฏิบัติงานไม่มีความใส่ใจในการทำงาน ก็อาจจะทำให้เกิดความคลาดเคลื่อนนั้นขึ้นได้ ตัวอย่างเช่น ในขณะที่ทำการอ่านค่าจากไม้สต๊าฟ ลูกน้ำเกิดหลุดหรือไม่อยู่กึ่งกลางอ่านที่ได้ก็จะเกินกว่าที่ควรจะเป็น
  3. ความคลาดเคลื่อนที่เกิดจากธรรมชาติ สาเหตุนี้มีหลายปัจจัยที่ส่งผลให้งานที่ได้ไม่ดี เช่น
    - พื้นดินบริเวณที่เป็นจุดตั้งกล้องอ่อนจึงทำให้เกิดการทรุดตัวของดิน
    - การหักเหของแสงในชั้นบรรยากาศ ทำให้ค่าที่อ่านได้จากไม้สต๊าฟต่างจากค่าที่ควรจะเป็น
    - คลื่นความร้อน ในสภาวะที่แดดร้อนจัดถ้าจุดเล็งอยู่ใกล้พื้นดิน จะทำให้การเห็นแนวเล็งสั่น
    - แรงลม จะส่งผลให้กล้องระดับสั่นและยากต่อการปรับลูกน้ำให้อยู่ในจุดกึ่งกลาง
    ไม่ว่าความคลาดเคลื่อนนั้นจะเกิดขึ้นเนื่องจากสาเหตุใดก็ตาม เราจึงต้องคำนึงถึข้อควรปฎิบัติตามคำแนะนำดังต่อไปนี้ เพื่อป้องกันการเกิดความคลาดเคลื่อน
    1.ดูแลรักษากล้องให้อยู่ในสภาพที่ดี และมีการปรับแก้อย่างถูกต้องสมบูรณ์อยู่เสมอ
    2.พยายามรักษาให้ระยะไม้หน้า เท่ากับระยะไม้หลังในการตั้งกล้องทุกครั้ง
    3.ปรับและคอยตรวจเช็คลูกน้ำให้อยู่ในจุดกึ่งกลางขณะใช้งานตลอดเวลา
    4.ถือไม้สต๊าฟให้อยู่ในแนวดิ่งและตั้งฉากกับแนวเล็ง

ยินดีให้คำปรึกษาแนะนำ กล้องระดับ กล้องวัดมุม กล้องประมวลผลรวม และบริการหลังการขาย : บริษัท พี นัมเบอร์วัน อินสตรูเม้นท์ จำกัด

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้